ท่อ PPR ท่อน้ำเย็น ท่อน้ำร้อน กรีนไปป์ทางเลือกการใช้งานท่อประปาในอาคารที่ควรใช้
ท่อพีพีอาร์ (PPR) ใช้งานยังไงบ้างต่างอย่าไรกับท่อ HDPE ท่อเหล็ก หรือ ท่อ PVCวันนี้เราจะมาแชร์ความรู้ทั่วไปเป็นข้อมูลให้แก่ผู้บริโภคที่มองคุณภาพสินค้าเป็นหลักจัดซื้อท่อน้ำเพื่อระบบประปาในอาคารหรือในบ้านที่ยั่งยืน อย่างแรก ทุกท่านจะต้องทราบก่อนว่าท่อPPR เป็นท่อที่เป็นผลิตภัณฑ์ด้านระบบการประปาที่พึ่งเกิดขึ้นมาไม่นานเมื่อเทียบกับท่อPVC โดยท่อ PPR เป็นท่อที่พัฒนาต่อยอดมาจากท่อ PVC ทำให้คุณภาพและการใช้งานดีกว่าหรืออีกชื่อที่ถูกเรียกโดยผู้ใช้จำนวนมาก อย่าง “กรีนไปป์” ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีน PP-R80 ที่มีคอมพาวด์ (compound raisin) ชั้นคุณภาพ80 ที่เหนียวแน่น และทนทานต่อสภาพอากาศ ทั้งภายนอกและภายในทนต่อการกัดกร่อน สารเคมี และรับแรงดันได้ค่อนข้างดีตั้งแต่ PN10 ถึง PN20 ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน ดังนี้ท่อ
PPRPN10 = รับความดันได้ 10 บาร์และเหมาะกับน้ำอุ่นน้ำเย็นท่อ
PPRPN20 = รับความดันได้ 20 บาร์และเหมาะกับน้ำร้อน
เพราะฉะนั้น ช่างประปาจึงหันมาเลือกใช้ท่อ PPR แทนท่อเหล็ก ในปัจจุบัน ที่ถูกใช้งานสำหรับระบบน้ำอุ่น น้ำร้อนเป็นอย่างมากในอดีต สาเหตุในการเปลี่ยนแปลงวัสดุอีกส่วนหนึ่งก็เพราะราคาท่อเหล็กที่ค่อนข้างสูง มีการเกาะสนิม และน้ำหนักเยอะทำให้ขนส่งและติดตั้งยากอีกด้วย
เนื่องจากปัจจุบันท่อพีพีอาร์ยังไม่มีมาตรฐาน มอก. ท่อพีพีอาร์จึงได้รองรับมาตรฐานของเยอรมัน DIN 8077 และ DIN 8078 และข้อต่อ มาตรฐาน DIN 16962-5 ในขณะที่ มอก.982-2556ก็จะเป็นที่รู้จักสำหรับท่อพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE)ที่โรงงานมีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตเป็นเวลายาวนานคุณสมบัติของท่อ PPR และ ท่อ HDPE มีความคล้ายกันหลายข้อไม่ว่าจะเป็นวิธีการเชื่อมโดยความร้อนเพื่อกันน้ำรั่วซึม การทนแรงดันรวมถึงอายุการใช้งานถึง 50 ปี การประสานกับข้อต่อที่เป็นเนื้อเดียวกันการเชื่อมต่อของท่อ PPR คือการเชื่อมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยการหลอมด้วยความร้อนที่ 250-260 องศาเซลเซียส ผ่านเครื่องเชื่อมพิเศษเรียกว่าวิธีการเชื่อมสอด (SockFusion) โดยการเชื่อมในลักษณะนี้ทำให้ท่อและอุปกรณ์หลอมกันเป็นเนื้อเดียวกันเพื่อช่วยในการป้อมกันน้ำรั่วน้ำซึม
ต้นทุนค่าใช้จ่ายโครงการควรจะเป็นตัวแปรต้น ๆที่ผู้รับเหมาควรจะคำนึงถึงเวลาเลือกใช้วัสดุ เพราะฉะนั้น ควรจะไตร่ตรองให้ดีตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบว่าพื้นที่จุดไหนที่ควรเลือกใช้หรือจุดไหนที่สามารถเลือกใช้วะสดุที่ถูกลง เนื่องจากขอดีที่กล่าวมานี้ ราคาท่อ PPR จึงมีราคาที่สูงกว่าถึง 4เท่า เมื่อเทียบกับท่อ PVCและสูงกว่า ท่อ HDPE ราว ๆ 2 เท่า โดยต้นทุนในส่วนนี้คนทั่วไปจึงนำท่อPPR มาใช้แค่งานที่เกี่ยวกับน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นหากน้ำไปใช้งานระบบประปาทั่วไป อาจจะทำให้ต้นทุนบานปลายเกินความจำเป็น
บริษัท เอส.อาร์ พีอี กรุ๊ป จำกัด ร้านขายท่อ PE เราเป็นผู้รับเหมาและท่อพีอีเกษตร ,ท่อ HDPE ประปา ,ท่อ HDPE ประปา,สำหรับระบบประปา และร้อยสายไฟรวมถึงท่อลอนพีอีเสริมเหล็กสำหรับระบบระบายน้ำและรวบรวมน้ำเสีย
หากใครสนใจอยากศึกษาเพื่มเติมให้ดูได้ที่หน้า ราคาท่อ PPR ของเราหรือทักเข้ามาได้ด้านล่างได้เลยนะคะ
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
เว็บไซต์: https://www.srpegroup.co.th
FB: https://www.facebook.com/srpegroup/
LINE OA: