Skip links

The trend of xpanding the contractor business amid the covid 19

          ปฎิเสธไม่ได้ว่าปี 2563-2564 นับว่าเป็นปีที่หนักหน่วงสำหรับผู้ประกอบการในเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ เหตุการ์ณที่ไม่มีใครเคยคาดคิดว่าจะส่งผลกระทบหนักแก่ประชาชนทั่วประเทศ ในทุก ๆ กลุ่มธุรกิจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม สถานการณ์การโรงแรมและภาคท่องเที่ยวของประเทศไทยที่ขึ้นชื่อว่า World’s Top 10 Tourist Destination กลับกลายเป็นกลุ่มที่มีดัชนีติดลบอันดับหนึ่งจนถึงทุกวันนี้​

อย่างไรก็ตาม ข่าวดีของจำนวนประชากรคนไทยที่ลงทะเบียนฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นทุกวัน และยังคงตั้งหน้าตั้งตารอกับการนำเข้าวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 จากต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพที่สุด รวมถึงการวิจัยและพัฒนาในประเทศ ท่ามกลางเรื่องราวอลหม่านที่พวกเราต่างประสบ ภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ หรือ PPP (Public Private Partnership) ยืนหยัดที่จะเดินหน้าอย่างต่อเนื่องท่ามกลางผลกระทบดังกล่าว เพื่อพัฒนาระบบสาธารณูปโภค การคมนาคม และขนส่ง การโยธาก่อสร้าง อุปโภคและบริโภคเพื่อประชาชนในประเทศที่จะถูกพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะพื้นที่โซนตะวันออก EEC การลงทุนโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ (Mega Projects) จึงเป็นอีกทางเลือกที่เหนี่ยวนำศักยภาพทิศทางฟื้นตัวของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่มีแนวโน้มพัฒนาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเฉพาะสภาวะราคาวัสดุก่อสร้างที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อ (Inflation) สกุลเงินดิจิตัล (Cryptocurrencies) รวมถึงสภาวะการแข่งขันด้านราคากับคู่แข่ง

การคาดการณ์แนวโน้มขยายตัวของผู้ประกอบกิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมฯ คิดเป็นกว่า 4.5% ในปี 2564 และเพิ่มขึ้นถึง 5.0% อีก 2 ปีข้างหน้า ข้อมูลอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลจากผลการวิจัยจริง เผยถึงงานโครงสร้างพื้นฐานทั่วประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง นัยสำคัญของค่าใช้จ่ายในวงการก่อสร้างของภาครัฐ มีมากกว่าภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องในช่วง 6 ปีนี้ จนถึงปัจจุบัน อาทิ นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า ระบบส่งน้ำท่อของการประปานครหลวง ระบบจำหน่ายกระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค แผนบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ตามสถานีรถไฟฟ้า แผนงานพัฒนาด้านชลประทาน และโครงการสัมปทาน เป็นต้น ดังนั้นความร่วมมือแบบ PPP จะยิ่งเสริมความแข็งแกร่งเพื่อสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลง​

นอกจากการต่อสู้กับการอยู่รอดของผู้ประกอบกิจการ ผู้รับเหมา ผู้ผลิต อีกหนึ่งปัจจัยที่ขาดไม่ได้เลย นั่นก็คืผู้นำนวัตกรรม(Innovation) เพื่อให้วิ่งตามให้ทันโลกที่หมุนรอบ ๆ อย่างรวดเร็ว บางคนเรียนรู้วิธีที่จะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในช่วงที่อัตราของการคมนาคมในประเทศลดลงช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา ด้วยการฟื้นฟู ปรับปรุง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทางเท้าบนถนนคนเดินในเมืองกรุงเทพฯ ให้ดียิ่งขึ้นเพื่อรองรับอนาคตของกลุ่มภาคธุรกิจที่จะกลับมาภายหลังจากในช่วงปีถัดไป โดยเฉพาะภาคโรงแรมและการท่องเที่ยว ซึ่งระหว่างนี้ การวางแผนอย่างเป็นระบบของประเภทงานโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชน งบประมาณโครงการเพื่อจัดเตรียมวัสดุในราคาที่สมเหตุสมผล เห็นได้อย่างชัดเจนว่าจำนวนมูลค่างานโครงการของภาครัฐ คิดเป็น 6.08 แสนล้านบาท สูงขึ้น 5.6% YoY ในช่วง 9 เดือนของปี 2563 ในขณะที่งานก่อสร้างภาคเอกชน มูลค่า 4.31 แสนล้านบาท ซึ่งหดตัวลง 2.9% ในเวลาเดียวกัน (Figure 5) ​

โจทย์ความท้าทายตอนนี้คือการเตรียมความพร้อมของงานก่อสร้างภาครัฐ  อย่างที่ทราบกันดี Supplier หรือผู้รับเหมา กำลังประสบกับราคาวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากในปีนี้ เพราะโครงสร้างต้นทุนราคาวัตถุดิบและความขาดแคลนของวัสดุก่อสร้างภายในประเทศ คิดเป็น 60% เทียบกับโครงสร้างค่าแรงงานและอื่น ๆ ข่าวราคาเหล็กอ่วมสูงกว่า 30% , เม็ดพลาสติก HDPE ดีดขึ้นไปเป็นเท่าตัวจากราคาน้ำมันขึ้นทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์แบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรกในโลก ทว่าเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบกิจการและผู้รับเหมาต้องรับมือกับความเคยชินให้ได้ในทุก ๆ 5-10 ปี เพราะหากมองย้อนกลับปี 2563 จะค้นพบว่าราคาวัสดุก่อสร้างในปี 2563 หดตัว 1.8% ต่อเนื่องจากที่หดตัว 1.2% ในปี 2562 จากการลงทุนก่อสร้างที่เติบโตเพียง 1.5% (คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.321 ล้านล้านบาท)

หากมองในแง่บวก Demand วันนี้ กลายเป็นกำลังสำคัญสู่ปริมาณ supply ในวันหน้า นำไปสู่โอกาสในการเติบโต ความต้องการในสินค้าจากที่สูงเป็นอย่างมากจะค่อย ๆ กลับเข้าสู่สภาวะปกติหลังจากการใช้ชีวิตของประชาชนกลับมาเป็นเหมือนเดิม โดยงานก่อสร้างภาครัฐเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในขณะทีภาคเอกชนมีการหดตัวเล็กน้อย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการสามารถรับมือกับการเติบโตที่สวนกระแส จากการปรับตัวตามสถานการณ์และการซัพพลายวัสดุทั้งในและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

อีกหนึ่งปัจจัยของที่มาการพัฒนาเมืองมาจากการขยายตัวตามความเป็นเมือง (Urbanization) อาทิ สะพาน สิ่งปลูกสร้าง ทรัพยากรธรรมชาติ ระบบสุขาภิบาลและสาธารณูปโภคที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน ในสังเขประบบขนส่งมวลชนเร็ว (Mass Transit System) ทั้งโครงการนำสายไฟฟ้าบนอากาศลงใต้ดิน งานต่อเนื่อง อย่างรถไฟฟ้าสายสีแดง สายสีส้ม สายสีเหลือง และสายสีชมพูเป็นต้น โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ (Dual Truck Railway) ทางด่วนดาวคะนอง-พระราม 2 (Motorway) รถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (High Speed Railway) โครงการสัมปทานการส่งน้ำ EEC และอื่น ๆ อีกมากมาย จากตัวอย่างงานโครงสร้างพื้นฐานยักษ์ใหญ่ในตารางรวม 15 โครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2021-2023

การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและ อย่างที่มีกล่าวไว้ว่างานโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridors : EEC) เพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการป้องกันภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำประปา และการนำพลังงาน Solar Cell หมุนเวียนมาใช้เพื่อรักษาทรัพยากรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่ผู้ประกอบการต่างก็เอาใจใส่อย่างเต็มที่ โครงการดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.6 ของมูลค่าการลงทุนก่อสร้างภาครัฐทั้งหมด นับว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หลักเพื่อหนุนโรงงานนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ บนผืนมูลค่าที่ดินอันแสนแพง ได้แก่ มาบตะพุด แหลมฉบัง เป็นต้น ที่เป็นที่รู้จักกันดี และนิคมฯ ในจังหวัดอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งโครงการขนาดใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องส่วนใหญ่จะเริ่มทยอยก่อสร้างในปี 2564 มูลค่าลงทุนรวมประมาณกว่า 6.0 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบังเฟส 3 เพื่อหนุนไทยเป็น Hub การขนส่งอาเซียน โครงการสนามบินอู่ตะเภา ทว่า จากที่เคยคาดการ์ณแนวโน้มของโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัย หรือก่อสร้างอาคารเพื่อการพาณิชย์ เปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเนื่องจากระลอก 3 ของสภาวะโควิด-19 ที่ดูแล้วเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบเชิงลบแก่ผู้ประกอบกิจาการในกลุ่มธุรกิจโรงแรมและอาหาร

จุดโฟกัสหลังจากเรื่องราวเหล่านี้คือโอกาส ไม่ใช่ปัญหาและอุปสรรคที่จะทำลายธุรกิจของผู้ประกอบกิจการ วันที่รออยู่ข้างหน้าคืออนาคตที่มีแสงสว่างของการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ (CLMV) เชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ กลายเป็นทิศทางออกเพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน การจัดการและการตลาด รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวของความเป็นเมือง (Urbanization) รวมถึงโรงงานอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย อาคารและสำนักงาน การทำงานร่วมกันระหว่างประเทศ การทำงานบนถนน (Civil Construction) อย่าง NCIs (Newly Centralized Industries) หรือแผนงานของความร่วมมือกับรัฐบาลไทย กัมพูชาและเวียดนามในระยะยาว ตามแผนพัฒนาโครงการตั้งแต่ปี 2561 Cambodia-Vietnam-Thailand Economic Corridor Cooperation Conference (CVTEC) ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน การกำหนดแผนพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่ระเบียงชายฝั่งทะเล 3 ประเทศ กับเส้นทาง The Belt and Road Initiative (BRI)

แนวทางการปรับตัวของผู้รับเหมาเชิงผสมผสานเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางธุรกิจในการดำเนินงาน ตั้งแต่รายใหญ่จนถึงรายเล็ก เน้นวิธีการทำงานแบบเชิงรุกทั้งในด้านการดำเนินงานและการลงทุนด้านนวัตกรรม เน้นการลดต้นทุนและยกระดับการแข่งขันด้านราคาในช่องทั้งออนไลน์และออฟไลน์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการรองรับงาน ซึ่งมีข้อได้เปรียบกว่ารายเล็กตรงอำนาจของการต่อรองสูงกับคู่ค้ามากกว่า ช่องทางการขยายกลุ่มธุรกิจที่ต่อเนื่องจากการรับเหมาก่อสร้างเพื่อรักษาฐานรายได้และกำไร ไม่ว่าจะเป็นการเน้นลงทุนด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรสำหรับการทดแทนแรงงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากสภาวะขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งผลกระทบการเว้นระยะห่างทางสังคม ซึ่งคาดว่าจะยังมีต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่อีกกลุ่มที่ส่วนใหญ่เป็นการบริหารงานแบบครอบครัว ส่วนรายกลางและรายย่อย เน้นงานซ่อมแซมและปรับปรุงอาคาร

ทั้งหมดนี้ การปรับตัวของบริษัทในทุกสถานการณ์เองก็เช่นกัน ที่จะทำให้โรงงานสามารถยืนบนเท้าตนเองได้อย่างแข็งแกร่งในทุกสถานการณ์ สามารถที่จะดำรงตำแหน่งฐานแบรนด์สินค้าและการบริการที่มั่นคงและยั่งยืนได้

แหล่งข้อมูล:“แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-66, ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง” (กุมภาพันธ์ 2564, Mahattanalai, Krungsi Research, 2564)

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

Website: https://www.srpegroup.co.th

FB: https://www.facebook.com/srpegroup/

LINE OA: