Skip links

PPR pipe cold water pipe hot water pipe green pipe the choice of plumbing in the building that should be used

ท่อพีพีอาร์ (PPR) ใช้งานยังไงบ้างต่างอย่าไรกับท่อ HDPE ท่อเหล็ก หรือ ท่อ PVCวันนี้เราจะมาแชร์ความรู้ทั่วไปเป็นข้อมูลให้แก่ผู้บริโภคที่มองคุณภาพสินค้าเป็นหลักจัดซื้อท่อน้ำเพื่อระบบประปาในอาคารหรือในบ้านที่ยั่งยืน อย่างแรก ทุกท่านจะต้องทราบก่อนว่าท่อPPR เป็นท่อที่เป็นผลิตภัณฑ์ด้านระบบการประปาที่พึ่งเกิดขึ้นมาไม่นานเมื่อเทียบกับท่อPVC  โดยท่อ PPR เป็นท่อที่พัฒนาต่อยอดมาจากท่อ PVC ทำให้คุณภาพและการใช้งานดีกว่าหรืออีกชื่อที่ถูกเรียกโดยผู้ใช้จำนวนมาก อย่าง “กรีนไปป์” ผลิตจากเม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีน PP-R80 ที่มีคอมพาวด์ (compound raisin) ชั้นคุณภาพ80 ที่เหนียวแน่น และทนทานต่อสภาพอากาศ ทั้งภายนอกและภายในทนต่อการกัดกร่อน สารเคมี และรับแรงดันได้ค่อนข้างดีตั้งแต่ PN10 ถึง PN20 ขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งาน ดังนี้ท่อ

PPRPN10 = รับความดันได้ 10 บาร์และเหมาะกับน้ำอุ่นน้ำเย็นท่อ
PPRPN20 = รับความดันได้ 20 บาร์และเหมาะกับน้ำร้อน

เพราะฉะนั้น ช่างประปาจึงหันมาเลือกใช้ท่อ PPR แทนท่อเหล็ก ในปัจจุบัน ที่ถูกใช้งานสำหรับระบบน้ำอุ่น น้ำร้อนเป็นอย่างมากในอดีต สาเหตุในการเปลี่ยนแปลงวัสดุอีกส่วนหนึ่งก็เพราะราคาท่อเหล็กที่ค่อนข้างสูง มีการเกาะสนิม และน้ำหนักเยอะทำให้ขนส่งและติดตั้งยากอีกด้วย

เนื่องจากปัจจุบันท่อพีพีอาร์ยังไม่มีมาตรฐาน มอก. ท่อพีพีอาร์จึงได้รองรับมาตรฐานของเยอรมัน DIN 8077 และ DIN 8078 และข้อต่อ มาตรฐาน DIN 16962-5 ในขณะที่ มอก.982-2556ก็จะเป็นที่รู้จักสำหรับท่อพอลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE)ที่โรงงานมีความเชี่ยวชาญในด้านการผลิตเป็นเวลายาวนานคุณสมบัติของท่อ PPR และ ท่อ HDPE มีความคล้ายกันหลายข้อไม่ว่าจะเป็นวิธีการเชื่อมโดยความร้อนเพื่อกันน้ำรั่วซึม การทนแรงดันรวมถึงอายุการใช้งานถึง 50 ปี การประสานกับข้อต่อที่เป็นเนื้อเดียวกันการเชื่อมต่อของท่อ PPR คือการเชื่อมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยการหลอมด้วยความร้อนที่ 250-260 องศาเซลเซียส ผ่านเครื่องเชื่อมพิเศษเรียกว่าวิธีการเชื่อมสอด (SockFusion) โดยการเชื่อมในลักษณะนี้ทำให้ท่อและอุปกรณ์หลอมกันเป็นเนื้อเดียวกันเพื่อช่วยในการป้อมกันน้ำรั่วน้ำซึม

ต้นทุนค่าใช้จ่ายโครงการควรจะเป็นตัวแปรต้น ๆที่ผู้รับเหมาควรจะคำนึงถึงเวลาเลือกใช้วัสดุ เพราะฉะนั้น ควรจะไตร่ตรองให้ดีตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบว่าพื้นที่จุดไหนที่ควรเลือกใช้หรือจุดไหนที่สามารถเลือกใช้วะสดุที่ถูกลง เนื่องจากขอดีที่กล่าวมานี้ ราคาท่อ PPR จึงมีราคาที่สูงกว่าถึง 4เท่า เมื่อเทียบกับท่อ PVCและสูงกว่า ท่อ HDPE ราว ๆ 2 เท่า โดยต้นทุนในส่วนนี้คนทั่วไปจึงนำท่อPPR มาใช้แค่งานที่เกี่ยวกับน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นหากน้ำไปใช้งานระบบประปาทั่วไป อาจจะทำให้ต้นทุนบานปลายเกินความจำเป็น

บริษัท เอส.อาร์ พีอี กรุ๊ป จำกัด ร้านขายท่อ PE เราเป็นผู้รับเหมาและท่อพีอีเกษตร ,ท่อ HDPE ประปา ,ท่อ HDPE ประปา,สำหรับระบบประปา และร้อยสายไฟรวมถึงท่อลอนพีอีเสริมเหล็กสำหรับระบบระบายน้ำและรวบรวมน้ำเสีย

หากใครสนใจอยากศึกษาเพื่มเติมให้ดูได้ที่หน้า ราคาท่อ PPR ของเราหรือทักเข้ามาได้ด้านล่างได้เลยนะคะ

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

‍เว็บไซต์: https://www.srpegroup.co.th  
FB: https://www.facebook.com/srpegroup/

LINE OA: