Duplicate dangers for thai people amid floods and covids
ขณะที่คนทั่วโลกกำลังพยายามและต่อสู้เพื่อที่จะปรับตัวจากไวรัสโควิด-19 ที่กินเวลายาวนานถึง 2 ปี และยังไม่รู้จะจบสิ้นหรือสิ้นสุดเมื่อไร ในเวลาเดียวกัน โลกก็กำลังเข้าสู่ความท้าทายใหม่ในด้านภัยธรรมชาติเรียกได้ว่าเป็นความคุกคามรูปแบบใหม่ ภัยพิบัติซ้ำซ้อนที่ได้เกิดขึ้นแล้วทั่วโลก ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่จากระดับน้ำทะเลสูง โดย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประเมินภาพรวมสถานการณ์ในปีนี้จนถึงปัจจุบัน พบว่า อยู่ภายใต้สถานการณ์โอบล้อมจากปรากฏการณ์มหาสมุทรอินเดีย มีอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติ รวมถึงทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเรียกว่า Negative IOD มีค่าเป็นลบ เกิดความแปรปรวนในมหาสมุทรอินเดีย และเกิดปรากฏการณ์ลานีญา สูงขึ้นในฝั่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คล้ายกับปี 2553 สร้างความเสียหายราวกับวันสิ้นโลก ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนและกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา อย่างประเทศไทยเป็นอย่างมาก เหตุการณ์ภัยพิบัติในภาวะโรคระบาดได้ให้บทเรียนราคาแพง ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ได้เกิดขึ้นในปี 2021 ซึ่งเพิ่มขึ้น 5 เท่าในช่วง 50 ปีผ่านมาผู้เสียชีวิตมากถึง 2 ล้านคน มูลค่าความเสียหายสูงถึง 3.64 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปีนี้เป็นปีที่ประเทศไทยต้องรับมือกับแนวทางการบริหารจัดการน้ำอีกภายใน 1 เดือน หลีกเลี่ยงอุทกภัยนี้ไม่ได้เช่นกันกับประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะระบบระบายน้ำ ท่ามกลางปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี โดยที่ไม่สามารถคาดการ์ณได้ อย่างน้อยล่วงหน้าก็ต้อง 3-5 วัน ก่อนพายุเข้า ทั้งนี้ หากเราเตรียมรากฐานตั้งแต่การวางระบบน้ำ ระบบชลประทานที่ดี ก็ไม่จำเป็นต้องห่วงปัญหาเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบทั่วทุกหย่อมหญ้า โดยช่วงกลางเดือน กรกฎาคม-กันยายนจะมีฝนตกชุกหนาแน่นและฝนตกหนักถึงหนักมากอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ยิ่งในช่วงเดือน สิงหาคม-กันยายน จะมีพายุเขตร้อน อีก 2-3 ลูก ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจมีโอกาสซ้ำรอยเหตุการณ์น้ำท่วมคล้าย ๆ ปี 2554 ในกลุ่มพื้นที่เสี่ยงบริเวณควรเฝ้าระวังในทุก ๆ ภาค โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ไม่ว่าจะเป็น อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา น้ำท่วมลุ่มน้ำป่าสัก จ.พระนครศรีอยุธยา จ.นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี สระแก้ว และพัทยา ซึ่งที่ผ่านมาฝนตกหนักน้ำท่วมในเมือง น้ำยกระดับขึ้นสูงถึง 1 เมตรกว่า
จากตัวอย่างที่ได้เห็นในภาพจากการสำรวจพื้นที่วางท่อลอนพอลิเอทิลีนเสริมเหล็ก (PROPIPE) ของบริษัทฯ จากหน้างานตรงเลียบชายหาดพัทยา เปรียบเทียบระหว่างพื้นที่วางท่อรูปแบบเดิม (ท่อคสล.) ติดกับตรอกซอยของเมืองฯ และพื้นที่วางเส้นท่อนวัตกรรมตรงแถบถนนฝั่งตรงข้าม ค้นพบว่าผิวถนนจราจรแห้งเป็นปลิดทิ้งท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วมในบริเวณนั้น ๆ สามารถระบายน้ำได้ทันทวงที ในขณะที่พื้นที่ยังไม่ถูกติดตั้งยังไม่สามารถระบายน้ำได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่ามาจากประสิทธิภาพของท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก และการกัดกร่อน การทรุดตัว หลังจากการติดตั้งในระยะเวลานึง อย่างไรก็ตามหากเราไม่หาวิธีการป้องการเพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์อุทกภัยดังกล่าวที่กำลังจะมาในอีกไม่นานอาจทำให้เกิดความเสียหายที่ไม่สามารถย้อนกลับมาแก้ไขกลับคืนได้และเพื่อเป็นการลดผลกระทบ ลำเลี้ยงน้ำ และรวบรวมน้ำเสีย ได้ตอบโจทย์ในการเตรียมรับมืออุทกภัย จะเห็นได้ว่าองค์กรที่จะเป็นด้านหน้าบทบาทสำคัญรวมถึงภาครัฐบาล ผู้ประกอบกิจการ และชุมชนท้องถิ่น จะต้องร่วมมือร่วมใจกับรองรับระบบผันน้ำ ระบายน้ำ ให้ประเทศสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน แม้ในสถานการ์ณที่ไม่คาดคิดอย่างว่า
รูปภาพประกอบในเหตุการณ์จริง
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
Website: https://www.srpegroup.co.th
FB: https://www.facebook.com/srpegroup/
LINE OA: