Skip links

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของปัญหาถนนทรุดพื้นที่ในเมืองขจัดความกลัวของประชาชน! เพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณูปโภคในประเทศ

      การทรุดตัวของถนนแถบพื้นที่ในเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ.2555 ยังคงเป็นปัญหาในบ้านเมืองเราจนถึงทุกวันนี้ ถึงแม้ว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นจะบรรเทาเหตุการณ์เหล่านี้ได้พอสมควร ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งของการทรุดตัวของพื้นถนนก็คือ ปัญหาการวางท่อระบายน้ำใต้ผิวจราจรที่ยังมีจุดบกพร่อง ดังนั้น ควรมีการวางแผนระยะยาวเพื่อระบบสาธารณูปโภคที่ยั่งยืน​

การทรุดตัวเป็นหลุมของถนนในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยว พื้นที่พลุกพล่านสำหรับการจราจรและการคมนาคม เกิดขึ้นจาก 3 สาเหตุหลัก ที่ได้มีการวิเคราะห์ในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการวิจัยเพื่อพัฒนาโครงสร้างระบบพื้นฐานใหดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแถบพื้นที่ในเมืองอย่าง พระราม 4 พระราม 3 พญาไท สุขุมวิท รามคำแหง ลาดพร้าว-วังหิน พหลโยธิน ฯลฯ ซึ่งโดยรวมแล้ว ค้นพบว่ามีความเสี่ยงต่อการยุบตัวถึง 155 จุด  อาจทำให้คนกรุงเกิดความหวั่นวิตกไปตาม ๆ กัน ยกตัวอย่างพื้นที่ที่เกิดถนนทรุดตัว เช่น เมื่อวันที่ 18 มี.ค. ถนนพระราม 4 บริเวณใต้สะพานไทย-เบลเยี่ยม แยกพระราม 4 ตัดถนนวิทยุ-สาทร เกิดโพรงใต้ถนนกว้างถึง 5 เมตร ผิวถนนทรุดลงไปกว่า 2 เมตร ตามมาด้วยกลางดึกวันที่ 2 เม.ย. ที่ทางเท้าริมถนนพระราม 3 ทรุดตัวลงเป็นหลุมลึก ประมาณ 3 เมตร กว้าง 5 เมตร ยาวประมาณ 22 เมตร และเอียงลงคูระบายน้ำริมถนนทำให้ท่อประปาและสายสาธารณูปโภคที่อยู่ใต้ดินเกิดความเสียหาย  ​

การเกิดโพรงใต้ถนนส่วนใหญ่กว่า 95 เปอร์เซ็นต์ ในต่างประเทศเกิดจากท่อน้ำประปารั่วและน้ำไหลชะเอาทรายที่บดอัดอยู่ใต้ดินออกไปทำให้เกิดโพรง ส่วนขนาดของโพรงจะใหญ่มากเพียงใดขึ้นอยู่กับความแรงของน้ำและระยะเวลาที่ผ่านไป แต่ในพื้นที่กรุงเทพฯจากทั้ง 4 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุแรกที่เกี่ยวข้องคือ ดินทรุดตัวตามธรรมชาติเนื่องจากชั้นดินใต้กรุงเทพฯเป็นดินอ่อนที่มีการทรุดตัวสะสมจากการใช้น้ำบาดาล ซึ่งแม้ว่าขณะนี้จะไม่มีการขุดบ่อบาดาลแต่ก็ยังส่งผลอยู่ ​

ปัจจัยที่นอกเหนือจากนี้ที่ยากต่อการควบคุม เช่น ภัยพิบัติ หรือฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงเฉียบพลัน โดยเฉพาะหน้าฝนที่ส่งผลให้ใต้ผิวถนนถูกน้ำกัดเซาะ เกิดจากชั้นทรายใต้ผิวถนน น้ำที่ยังถูกระบายออกไม่หมดระหว่างการถมดินกลับบนพื้นที่ ๆ มีการขุดเจาะแล้ว ทำให้พื้นถนนทรุดลง  สาเหตุถัด คือเกิดจากความบกพร่องในการก่อสร้างและการปรับปรุงสาธารณูปโภค เช่น กรณีของการก่อสร้างบ่อพักท่อระบายน้ำ มีการใช้วัสดุที่เป็นไม้ ซึ่งมีการย่อยสลายทำให้รอยต่อของบ่อพักและท่อมีช่องว่างและดูดเอาทรายที่บดอัดลงไปในบ่อพักทำให้เกิดโพรง หรือการเปิดหน้าดินเพื่อลงไปซ่อมปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและไม่มีการซ่อมกลับให้เหมือนเดิมทั้งในเรื่องของคุณภาพและความแข็งแรง เช่น ไม่บดอัดทรายให้แน่น ทำงานด้วยความเร่งรีบ ถนนเดิมเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก แต่เมื่อมีการซ่อมกลับไม่ใช้คอนกรีตเสริมเหล็กเทเพียงแอสฟัลต์ เป็นต้น

สุดท้ายนี้ อายุการใช้งานของวัสดุสำหรับงานถนนและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่ทำให้ความแข็งแรงลดน้อยลงตามอายุการใช้งานและการเสื่อมสภาพของวัสดุ เช่น ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กที่สร้างมานานก็จะแข็งแรงน้อยกว่าถนนที่สร้างใหม่ ขณะนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นคืออายุของถนน แต่สิ่งที่ต้องคิดต่อไปคือ อุโมงค์ระบายน้ำที่อยู่ใต้ดินที่สร้างมายาวนานหลายสิบปีเช่นกัน เมื่อต้องรับน้ำเสียที่ไหลผ่านท่อตลอดเวลาก็มีโอกาสที่คอนกรีตจะกร่อนและจะมีปัญหาต่อความแข็งแรงของอุโมงค์ได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเริ่มคิดป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต เนื่องจากเส้นท่อระบายน้ำขนาดใหญ่อยู่ใต้ถนนสายสำคัญและมีความยาวรวมกันแล้วจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว

แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์ของปัญหาถนน  ทรุดพื้นที่ในเมือง

ขจัดความกลัวของประชาชน! เพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณูปโภคในประเทศ​

รูปท่อ 1

รูปท่อ 2

การรับน้ำหนักปริมาณการจราจรบนท้องถนนถึง 40 ตัน เทียบเท่ากับ 1 คัน รถเทรลเลอร์  อย่างน้อยสามารถช่วยตอบโจทย์ในพื้นที่จำกัดในเมือง อีกทั้งยังลดเวลาการซ่อมแซมงานจากการเสื่อมอายุของวัสดุท่อบางชนิด ประหยัดต้นทุนหลากหลายแง่มุมให้แก่ผู้รับเหมา ที่กำลังประสบปัญหาการซ่อมงานที่ซ้ำซ้อน เกิดขึ้นบ่อยครัง ตามมาด้วยเสียงเรียกร้องจากชุมชนในพื้นที่ จราจรที่ติดขัด เพราะฉะนั้น ผู้ผลิตเองก็มองหาที่ปรึกษาเพื่อหารือเกี่ยวกับการเลือกใช้วัสดุโดยใช้คุณสมบัติดีเด่นเชิงเทคนิค เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของชุมชนในประเทศ

แหล่งข้อมูล:
https://www.thansettakij.com/content/normal_news/455087
https://www.komchadluek.net/news/local/464215
http://www.dmr.go.th/ewt_news.php?nid=37874&filename=data4people

สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:

Website: https://www.srpegroup.co.th

FB: https://www.facebook.com/srpegroup/

LINE OA: